🔴ข้อควรปฏิบัติ เมื่อตกเป็นผู้ต้องหา🔴
💥ทำอย่างไร เมื่อตกเป็นผู้ต้องหา💥
👉เมื่อถูกตำรวจจับกุมไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม การจะดำเนินคดีต้องผ่านขั้นตอนที่ตำรวจ “แจ้งข้อหา” เพื่อให้เรารู้ว่า จะถูกดำเนินคดีข้อหาอะไร “สอบปากคำผู้ต้องหา” เพื่อให้เรามีโอกาสให้ข้อเท็จจริงจากฝั่งของเรา “สอบปากคำพยาน” เพื่อหาพยานหลักฐานเพิ่มเติมว่า เราทำผิดจริงหรือไม่ “สรุปสำนวน” เพื่อตัดสินใจว่า จะส่งฟ้องหรือไม่ งานนั่งโต๊ะของตำรวจเหล่านี้ เรียกรวมว่า “งานสอบสวน”
ซึ่งเป็นขั้นตอนการทำงานสำหรับทุกคดีเพื่อหาคำตอบว่า ใครคือคนร้ายตัวจริง ใช่คนที่ถูกจับมาไหมนะ?
👉ในประเทศที่กระบวนการยุติธรรมพัฒนาแล้ว การแจ้งข้อหาหรือดําเนินคดีกับใคร จะต้องปรากฏพยานหลักฐานชัดเจนว่า คนนั้นเป็นผู้กระทําความผิด และมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะทำให้ศาลพิพากษาลงโทษได้
👉งานสอบสวนที่ควรจะเป็น คือ ตำรวจต้องแสวงหาพยานหลักฐานทุกชนิดเพื่อ “ค้นหาความจริง” สำหรับพิสูจน์ทั้งความผิดและความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา
💥แต่ในทางปฏิบัติ 💥
ตำรวจที่ทำหน้าที่สอบสวนยังมุ่งรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อเอาผิดแก่ผู้ถูกกล่าวหาในทำนอง “เค้นหาความจริง” มากกว่าการ “ค้นหาความจริง”
ทำให้ “คนบริสุทธิ์” ตกเป็นผู้ต้องหา และถูกส่งฟ้องต่อศาลมากมาย บ่อยครั้งนําไปสู่การละเมิดสิทธิของประชาชน
ทำให้ผู้ถูกกล่าวหา หรือผู้ต้องหาไม่ได้รับความเป็นธรรม และทำให้ภาพของตำรวจและกระบวนการยุติธรรมกลายเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับประชาชนทั่วไป
👉ซึ่งถูกฟ้องและถูกคุมขังโดยไม่ได้เป็นผู้กระทำผิด หนึ่งในสาเหตุของเรื่องนี้ เพราะระบบของประเทศไทยเอา “งานสอบสวน” ทั้งหมดฝากไว้ในมือของตำรวจ และเอา “งานฟ้องคดี” ทั้งหมดมอบให้อัยการ ชนิดแยกขาดจากกัน
อัยการซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย ไม่มีโอกาสเข้าไปตรวจสอบในกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริงและค้นหาพยานหลักฐานตั้งแต่ต้น กว่าจะรู้เรื่องคดีก็ต่อเมื่อตำรวจส่งสำนวนมาให้อัยการฟ้องคดีต่อศาลเท่านั้น หลายกรณีอัยการไม่มีโอกาสที่จะตรวจสอบให้แน่ชัดว่า มีหลักฐานเพียงพอจะพิสูจน์ความผิดได้หรือไม่ บางครั้งก็ต้องยื่นฟ้องผู้บริสุทธิ์ไป และศาลก็ยกฟ้องในภายหลัง